สอบถาม โทร

บริษัท มายต์กลาส จำกัด
1553/13-14 ถนนลาดพร้าว แขวงสามเสนนอก
เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ


Previous
Next
Previous
Next

วิธีเลือกความหนากระจกที่เหมาะสม

วิธีเลือกความหนากระจกที่เหมาะสม
 


  • สำหรับทำหน้าบานตู้ แบบไม่มีกรอบเฟรมหรือกระจกเปลือย แนะนำให้ใช้กระจกหนา 10 มิลลิเมตร สำหรับหน้าบานตู้ที่มีขอบเฟรม ไม่ว่าจะเป็นไม้หรือเหล็กควรมีความหนา 5-6 มิลลิเมตร

  • กระจกสำหรับทำชั้นวางของ โดยทั่วไปควรมีความหนาอยู่ที่ประมาณ 5 มิลลิเมตร แต่ถ้าต้องการให้ชั้นรับน้ำหนักมาก อาจเพิ่มความหนาเป็น 10 มิลลิเมตร

  • กระจกที่ใช้ทำประตูและหน้าต่าง ในกรณีที่มีกรอบเฟรมควรเลือกใช้ความหนาประมาณ 6 มิลลิเมตร สำหรับประตูหรือหน้าต่าง ที่ไม่มีกรอบเฟรมควรมีความหนาอยู่ที่ 10 มิลลิเมตรขึ้นไป หรือควรเลือกใช้กระจกเทมเปอร์ที่มีความปลอดภัยมากกว่า

  • กระจกที่ใช้สำหรับทำท็อปโต๊ะต่างๆ ควรเลือกใช้ความหนาที่ 6-10 มิลลิเมตร แปรผันตามสิ่งของที่วางอยู่บนกระจก

  • กรุผนังทั่วไป กระจกที่ใช้สำหรับกรุผนังตกแต่งทั่วไป เลือกความหนาตั้งแต่ 5-8 มิลลิเมตร

  • หลังคากระจกต้องเป็น Laminated Glass สำหรับคนที่ชอบแสงธรรมชาติแล้วเอากระจกไปทำหลังคาเพื่อให้แสงธรรมชาติส่งผ่านเข้ามาได้ กระจกนั้นต้องเป็น Laminated Glass เพราะหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นทำให้หลังคากระจกแตกเศษกระจกจะไม่หล่นลงมาทันที แต่จะยึดติดแผ่นฟิล์มก่อน มีเวลาเพียงพอที่จะให้มีเวลาหลบหลีกและเปลี่ยนแผ่นกระจกได้ทันการณ์

  • กระจกเจียรปลี คือ กระจกที่ขัดขอบข้างให้เอียดลาดลง เพื่อให้เกิดการหักเหของแสงเหมือนแก้วเจียระไน ราคาจะแพงกว่ากระจกธรรมดาประมาณฟุตละ 30-50 บาท ข้อควรระวัง ขอบกระจกที่เจียรแล้วจะเบาบาง ติดตั้งไม่ดีอาจบิ่นและแตกได้ง่าย อย่าใช้มากเกินไป ใช้เพียงบางจุด แสงจะหักเหทำให้หลอกตาได้

  • อย่าออกแบบบานเกล็ดกะจกให้กว้างมากนัก บานเกล็ดกระจก (ที่มีการปรับมุมได้) ไม่ควรออกแบบให้มีความกว้างของช่องบานมากนัก เพราะกระจกจะรับน้ำหนักไม่ไหวและจะแอ่นหรือแตกหักได้ ดังนั้นควรออกแบบบานเกล็ดอย่ามีขนาดใหญ่กว่า 90 ซม. หากขนาดช่องใหญ่ ควรแบ่งออกเป็น 2 ช่อง

ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของกระจก 


  • กระจกดัดโค้ง (Curved Glass) เป็นการนำกระจกธรรมดาทั่วไปมาดัดโค้งโดยใช้ความร้อนสูง เพื่อดัดให้ได้รูปทรงตามที่ต้องการ นิยมใช้ทำราวบันได โชว์รูมต่างๆ สามารถดัดโค้งได้มากถึง 500 มิลลิเมตร

  • กระจกกันคราบน้ำ (Nano Glass) เป็นกระจกที่มีอนุภาคเล็กๆ ช่วยปิดรูพรุนจำนวนมากบนผิวกระจก อนุภาคเล็กๆ เหล่านี้ทำให้คราบน้ำและสิ่งสกปรกต่างๆ ไม่เกาะติดบนพื้นผิว ทำให้กระจกมีความใส ดูใหม่อยู่เสมอแถมยังทำความสะอาดง่ายอีกด้วย นิยมใช้กับอาคารสำนักงานต่างๆ กระจกรถยนต์และกระจกตู้อาบน้ำ 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *